การวิจารณ์สำนักพิมพ์แบบเปิด ของ เจฟฟรี่ บีลล์

บีลล์ได้กล่าวไว้ว่า "ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงที่ผมเคยเห็น มีเพียงต้นแบบการจัดพิมพ์แบบดั้งเดิมเท่านั้น"[3] ในเดือนธันวาคม ปี 2556 บีลล์เผยแพร่ข้อคิดเห็นใน ทริบเปิ้ลซี  ซึ่งเป็นวารสารที่เข้าถึงได้แบบเสรี โดยรวบรวมบทวิจารณ์ต่อสำนักพิมพ์แบบเปิดโดยรวมไว้ในข้อคิดเห็นนั้น[4] เค้ามองว่าสำนักพิมพ์แบบเปิดนั้นเป็นเหมือนขบวนการต่อต้านบรรษัทนิยม ซึ่งให้การสนับสนุนเป้าหมายที่จะ "หักล้มสำนักพิมพ์ที่แสวงหากำไร และทำให้สำนักพิมพ์ทางวิชาการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม"[4]

การวิจารณ์ของสำนักพิมพ์แบบเปิดที่ล่าเหยื่อ

บีลล์เป็นที่รู้จักจากการสืบสวนของเขาเกี่ยวกับสำนักพิมพ์แบบเปิดที่ล่าเหยื่อซึ่งเป็นคำที่เค้าคิดขึ้นเอง เขาได้เผยแพร่บทวิเคราะห์จำนวนหนึ่งเกี่ยวกับสำนักพิมพ์แบบเปิดที่ล่าเหยื่อ เช่นที่เกี่ยวกับ Bentham Open ใน The Charleston Advisor เมื่อปี 2552[5] ทว่าความสนใจของเขาในวารสารเหล่านี้นั้นเริ่มต้นในปี 2551 ตอนที่เขาเริ่มได้คำร้องขอจำนวนมากให้เข้าร่วมกองบรรณาธิการจากวารสารทางวิชาการที่น่าสงสัย เขาได้กล่าวไว้ว่าเขานั้น "เกิดความสนใจทันที เนื่องจากอีเมลส่วนใหญ่นั้นเต็มไปด้วยการใช้ไวยากรณ์แบบผิดๆ"[6] ตั้งแต่ปี 2552 เขาได้เป็นที่รู้จักและได้อัปเดตบัญชีรายชื่อที่เขารวบรวม "สำนักพิมพ์ทางวิชาการแบบเปิด ที่มีแนวโน้ม ความเป็นไปได้ หรือความน่าจะเป็นที่จะทำการล่าเหยื่อ" อย่างต่อเนื่อง[7][8][9] บีลล์ได้ทำการประมาณว่าสำนักพิมพ์แบบเปิดที่ล่าเหยื่อตีพิมพ์ประมาณ 5-10% ของบทความวิชาการแบบเสรี ทั้งหมด[6] และมีวารสารทางวิชาการอย่างน้อย 25 % ที่เข้าค่ายล่าเหยื่อ[10]

การโต้ตอบการวิจารณ์

ฟิลล์ เดวีส์ (Phil Davies) สังเกตว่า "บีลล์ได้กล่าวหาเกือบหนึ่งในห้าว่าเป็น 'สำนักพิมพ์ทางวิชาการแบบเปิด ที่มีแนวโน้ม ความเป็นไปได้ หรือความน่าจะเป็นที่จะทำการล่าเหยื่อ' แบบผิดๆจากลักษณะภายนอกอย่างเดียว"[11] เขายังบอกอีกว่า เจฟฟรี่ บีลล์ ควรพิจารณาการบันทึกบัญชีรายชื่อใหม่โดยรอจนกว่าจะมีหลักฐานจึงค่อยเพิ่มรายชื่อ

ใกล้เคียง

เจฟฟรี่ บีลล์ เจฟฟรี่ย์ อาร์เชอร์ เจฟฟรี่ย์ รัช เจฟฟรี่ย์ ชอเซอร์ เจฟฟรีย์ ดาห์เมอร์ เจฟฟรีย์ ไศลมานกุล เจฟฟรีที่ 2 ดยุกแห่งบริตานี เจฟฟรีย์ ดูม็อง เจฟฟรีย์ กิโตเมอร์ เจฟฟรีย์ ฟอร์ด